History

ตำนานการบุกเบิกของยุคเล่นเกมปี 90′

กี่วันวานที่ผ่านพ้นมา กี่ร้อนหนาวที่ต้องฟันฝ่า ยุค Generation 90′ แห่งวิถีที่ลำบากยากเข็ญ ถ้าหากได้ย้อนเวลากลับไป หรือ นั่งเครื่องไทม์แมชชีนของโดราเอมอนไปในชีวิตวัยเด็ก ความคลาสสิกและเรื่องราวจะถูกถักทอร้อยเรียงออกมาเป็นเรื่องราวที่สามารถเล่าได้เป็นฉากเป็นตอน ความทรงจำดีๆจากเรื่องราววันวานที่เด็กในยุค New Generation ไม่ได้สัมผัสถึง

การเล่นให้จบเกมได้เป็นเรื่องที่ท้าทาย

end story of gamer happy

การเล่นเกมที่จะผ่านพ้นไปได้ เวลาติดอยู่ในจุดที่สำคัญ หากเป็นยุคปัจจุบัน เพียงแค่เข้าไปใน Google และ กดค้นหาเราก็จะพบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเกมนั้นๆ รวมถึงวิธีการที่จะผ่านด่าน หรือ เควสดังกล่าวว่าจะผ่านไปได้อย่างไรเพราะมีคนช่วย หรือ ผู้ที่แนะนำถึงวิธีการต่างๆ โดยแทบไม่ต้องใช้ความคิดของตัวเองมากเท่าไรนัก

แต่หากมองย้อนกลับไปในอดีต ยุคสมัยที่การค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ยากลำบาก เนื่องจากช่วงระยะเวลานั้นยังคงไม่แพร่หลายเท่าไรนัก ทั้งยังมีการใช้งานที่ค่อนข้างลำบาก การแนะนำข้อมูลต่างๆจะถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายสัปดาห์ จากค่ายแต่ละค่าย

และจากผู้เล่นที่ส่งข้อมูลไปยังสำนักพิมพ์ต่างๆเพื่อที่จะบอกกล่าวถึงวิธีการผ่าน ซึ่งหากเล่นไม่ผ่านเกมในช่วงใดหรือจุดไหน สิ่งที่สามารถทำได้ในยุคนั้นคือรอการตีพิมพ์และภาวนาให้มีการบอกถึงจุดที่เล่นไม่ผ่านในสัปดาห์นั้น ถ้าหากไม่มีก็ต้องรอต่อไป หรือไม่อย่างนั้นก็พยายามเล่นเองจนผ่านไปได้

เล่นเกมต้องมีถ่าน ถ่านหมดต้องชาร์ตหรือซื้อ

ในยุค 90′ เทคโนโลยีที่ถูกนำเข้ามาและเป็นเรื่องใหม่สำหรับช่วงระยะเวลานั้น คือ การชาร์ตแบตเตอรี่ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายบนโทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ถ่านชาร์ต เป็นอีกหนึ่งวัตกรรมที่ถูกใช้ เนื่องจากภาระทางการเงินในการซื้อถ่านค่อนข้างสูง การใช้ถ่านจะมีราคาแพง ทั้งยังต้องพกพาเยอะ และ เป็นขยะอันตรายไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ถ่านชาร์ตเป็นสิ่งเดียวที่จะให้การเล่นเครื่องเกมพกพาได้อย่างสบายใจ

ใช้เวลาในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนานซึ่ง Connect ได้ช้ามาก

connect internet 56k

สำหรับยุคสมัยนี้ที่อะไรก็รวดเร็วไปหมด การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีก็สามารถเล่นได้ ทุกอย่างพร้อมใช้งานตลอดเวลา

แต่ถ้านำยุคสมัยนี้กลับไปเปรียบเทียบกับยุค 90′ ที่เทคโนโลยีทางด้านอินเตอร์เน็ตนั้นค่อนข้างลำยาก หากต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต้องใช้เวลาในการเชื่อมต่ออย่างน้อย 3-5 นาที และ การเชื่อมต่อไม่ใช้ว่าทุกครั้งจะสำเร็จ

ถึงแม้ว่าการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเครื่องคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น ปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตก็จะไม่ได้จบอยู่ที่ความช้าในการเชื่อมต่อ ต้องเข้าใจด้วยว่าถ้าหากมีคนใช้โทรศัพท์บ้าน หรือ มีการรับสายโทรศัพท์ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะถูกตัด

ในยุคสมัยนั้นการรับโทรศัพท์บ้านเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากไม่มีการบอกว่าใครเป็นผู้โทรมา เหตุด่วนหรือเหตุร้ายอย่างไรจำเป็นต้องรับเสมอ นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นมีราคาค่อนข้างสูงมาก การใช้งานอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและวุ่นวาย

เล่นเกม Lan ต้องนัดเพื่อนถึงจะสนุก ลำบากแสนเข็ญขอให้ได้ออกมาเล่น

game cafe

อย่างที่เข้าใจได้ง่าย เพราะว่า การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทำได้ค่อนข้างลำบาก ทำให้การเล่นเกมในโหมด Multiplayer จะเลือกไม่ต่ออินเตอร์เน็ตแต่ปรับมาเล่นผ่านวิธีการ Lan แทน ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายกว่าและเสถียรกว่า ทำให้ยุค 90′ คนส่วนใหญ่จึงนิยมเล่นเกมผ่านระบบ Lan

แต่ด้วยวิธีการเล่นเกมผ่านระบบ Lan ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ง่ายเช่นกัน ยุคสมัยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้แพร่หลายมากเท่าไร การจะยกเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อ Lan กันก็เป็นสิ่งที่ทำได้โดยยาก

การนัดเจอกันที่ร้านคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตคาเฟ่เป็นเรื่องที่ทำกันเป็นประจำ จนกลายเป็นวัฒนธรรมของยุค 90′ สำหรับการเล่นเกม Counter-Strike 1.6, Red Alert Command & Conquer 2 หรือเกมอื่นผ่านระบบ Lan ร่วมกัน กับยุคสมัยที่มีร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ผุดขึ้นไม่ต่างจาก 7-11

ความเสี่ยงในการเลือกเกมผู้เล่นต้องแบกรับความเสี่ยงนั้นไว้เอง

read news magazine game

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วว่า นิตยสารเกมรายสัปดาห์ หรือ นิตยสารเกม จะมีส่วนที่ผิดพลาด หรือ บทความที่ค่อนข้างอวยหรือเอนเอียงไปทางเกม อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการโฆษณาเกินจริง

การหลอกลวงเพื่อให้ซื้อเกมคุณภาพแย่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพราะการเขียนบทความโฆษณาและรีวิวด้วยคำพูดสวยหรู อย่างเช่น เกมยุคบุกเบิกของความรุนแรงในประวัติศาสตร์วงการเกม หรือ เกมยิงนกเป็ดน้ำ เป็นต้น

Memory Card อาวุธสำคัญยังกับดาบโรนิน

memory card for game

นักรบต้องมีอาวุธคู่กาย เกมเมอร์ยุค 90′ ต้องมี Memory Card เป็นอาวุธคู่ใจ อุปกรณ์ตัวเสริมสำหรับการเล่นเกมที่จะทำให้ได้ต่อเนื่องอย่างยาวนานด้วย Memory Card ที่มีหน้าที่ในการบันทึกช่วงเกมที่ได้เล่น โดยที่ไม่ต้องมานั่งจดรหัส

ซึ่งกว่าจะมีการใช้ Memory Card ก็เข้าสู่ปลายยุค 90′ เพราะเนื้อเรื่องของการเล่นเกมที่มีความยาวนานมากยิ่งขึ้น รายละเอียดมากขึ้น การที่จะเล่นให้จบภายในวันเดียวเป็นสิ่งที่ยากมาก ทำให้เกมเมอร์ยุค 90′ ต้องพกพา Memory Card อยู่เสมออย่างขาดไม่ได้

ขึ้น ทำให้การเล่นเกมใหญ่จบภายในวันเดียวเป็นเรื่องที่ยากมาก อุปกรณ์ Memory Card กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกมเมอร์เกี่ยวกับ Memory Card คือ ไม่มี Memory Card

เกมเดียวแต่จำนวนแผ่น CD ที่มีให้เล่นเยอะ

CD for game

สำหรับการเล่นเกมเครื่อง Console เปลี่ยนมาใช้แผ่น CD ในการเล่นเกมแทนแบบตลับ เนื่องจากเก็บข้อมูลได้มากกว่าแบบตลับมาก ทั้งยังเก็บรักษาได้ง่ายกว่า แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอกับการเล่นเกมใหญ่บางเกม พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเกมระดับสุดยอด AAA จะมีแผ่นอย่างน้อย 2-3 แผ่น บางเกมมีถึง 4 แผ่น กลายเป็นเกมที่ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของใครหลายๆคน

หากมาเปรียบเทียบดูในปัจจุบันที่สามารถใช้ Blu-ray Disc ได้ ซึ่งมีพื้นที่ในการเก็บความจุของเกมได้อย่างมากยิ่งขึ้น และ แบบ Digital Download ที่สามารถเก็บข้อมูลเกมลงได้ใน HDD เพื่อเก็บข้อมูลและใช้บันทึกเกมด้วย เรียกได้ว่าความวุ่นวายจะไม่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงบางส่วนของเรื่องราวเล่าขานให้ชวนคิดถึงสำหรับคนยุค 90′ ย้อนวันวานอันแสนหวาน เมื่อช่วงระยะเวลาของเราไม่เท่ากัน สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างกันได้ คือ ความทรงจำที่ไม่แตกสลาย อารมณ์ที่สื่อออกถึงความรู้สึก และ การกระทำที่ผ่านความนึกคิด และ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เกมเมอร์ได้หวนนึกถึงอยู่เสมอ เกมในวันวานที่เกมเมอร์ยุค 90′  ยังคงจดและจำ